วันศุกร์ที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2554

ระบบเครือขาย เเละการติดต่อสื่อสาร


การสื่อสารข้อมูล และเครือข่ายคอมพิวเตอร์



เทคโนโลยีการสื่อสารมีส่วนช่วยให้การดำเนินงานธุรกิจในปัจจุบันเป็นไปอย่างราบรื่น  ช่วยให้การส่งข้อมูลในรูปแบบต่างๆ  ไม่ว่าจะเป็นทางโทรสาร โทรศัพท์ อีเมล์  โทรทัศน์  และอื่นๆ  ไปยังจุดหมายที่อยู่ห่างไกลเป็นไปอย่างสะดวกและรวดเร็ว

เทคโนโลยีคมนาคมและการสื่อสารนำมาประยุกต์ใช้เพื่อพัฒนาและปรับปรุงการดำเนินงานทางธุรกิจโดยมีวัตถุประสงค์หลัก 4 ประการดังนี้

1.        เพื่อการสื่อสารทางธุรกิจที่ดีขึ้น  ช่องทางการสื่อสารระหว่างบุคคลมีหลายรูปแบบ เทคโนโลยีคมนาคมช่วยให้การ ติดต่อสื่อสารรวดเร็ว  ถูกต้อง  และได้รับข้อมูลสะท้อนกลับอย่างทันที
                2.        เพื่อให้การดำเนินงานมีประสิทธิภาพสูงขึ้น  โดยปกติการดำเนินงานทางธุรกิจมักจะมีการใช้งาน ข้อมูลร่วมกันในแต่ละแผนก ซึ่งเทคโนโลยีโทรคมนาคมช่วยอำนวยความสะดวกในการสื่อสารใช้งานข้อมูลร่วมกัน  ให้ความสะดวกในการบันทึกข้อมูลและประมวลผลข้อมูล  ลดความซ้ำซ้อน  การทำงานที่ผิดพลาด  ส่งผลให้การดำเนินธุรกิจมีความถูกต้องและมีประสิทธิ์ภาพสูงขึ้น 
                3. เพื่อการกระจายข้อมูลที่ดีขึ้น  
ช่วยให้การรับส่งข้อมูลระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์กระทำได้อย่างสะดวก  เครื่อง  คอมพิวเตอร์  ปลายทางสามารถเรียกใช้ฐานข้อมูลกลางด้วยความเร็วรวด
                4. เพื่อการจัดการกระบวนการธุรกิจที่สะดวกขึ้น  
พัฒนาการทางอินเตอร์เน็ตช่วยให้การดำเนินธุรกิจ  ออนไลน์พัฒนามะ หยุดยั้งตามไปด้วย     กระบวนการทางธุรกิจอัตโนมัติกระทำด้วยการสนับสนุน  ของเทคโนโลยี  คมนาคมที่ทันสมัย
  


     องค์ประกอบของการสื่อสาร
  1. ผู้ส่งข้อมูล (Sender) ทำหน้าที่ส่งข้อมูล
  2. ผู้รับข้อมูล (Receiver) ทำหน้าที่รับข้อมูล
  3. ข้อมูล (Data) ข้อมูลที่ผู้ส่งข้อมูลต้องการส่งไปยังผู้รับข้อมูล อาจอยู่ในรูปของข้อความ เสียง ภาพเคลื่อนไหว
  4. สื่อนำข้อมูล (Medium) ทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการขนถ่ายข้อมูล เช่น สายเคเบิล ใยแก้วนำแสง อากาศ
  5. โปรโตคอล (Protocol) กฎหรือวิธีที่ถูกกำหนดขึ้นเพื่อการสื่อสารข้อมูลในรูปแบบตามวิธีการสื่อสารที่ตกลง กันระหว่าง ผู้ส่งข้อมูล กับ ผู้รับข้อมูล


  
การใช้เทคโนโลยีการสื่อสาร

           การสื่อสารข้อมูลในยุคปัจจุบัน ได้ตะหนักถึง ความสำคัญในการนำเทคโนโลยีคมนาคมและการสื่อสารมาช่วยงานเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของการดำเนินงาน ซึ้งการประยุกต์เทคโนโลยีการสื่อสารในองค์การมีดังนี้

ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Mail : E-mail)

              การใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เช่น โทรศัพท์มือถือ คอมพิวเตอร์ และพีดีเอ ส่งข้อความอิเล็กทรอนิกส์ไปยังบุคคลอื่น โดยการสื่อสารนี้บุคคลที่ทำการสื่อสารจะต้องมีชื่อและที่อยู่ในรูปแบบอีเมล์แอดเดรส 

โทรสาร (Facsimile หรือ Fax)

           เป็นการส่งข้อมูล ซึ่งอาจเป็นข้อความที่เขียนขึ้นด้วยมือหรือการพิมพ์ รูปภาพ หรือกราฟต่างๆ จากเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อื่นๆ ที่มีอุปกรณ์ที่เรียกว่าแฟกซ์-โมเด็มไปยังเครื่องรับโทรสาร การส่งข้อความในลักษณะนี้ช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายและมีประสิทธิภาพสูงกว่าการส่งข้อมูลผ่านเครื่องโทรสารธรรมดา
วอยซ์เมล์ (Voice Mail)

          เป็นการส่งข้อความเป็นเสียงพูดให้กลายเป็นข้อความอิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบเครือข่ายการสื่อสารข้อความจะถูกบันทึกไว้ในอุปกรณ์บันทึกเสียงที่เรียกว่า วอยซ์เมล์บล็อก เมื่อผู้รับเปิดฟังข้อความดังกล่าวก็จะถูกแปลงกลับไปอยู่ในรูปแบบของเสียงพูดตามเดิม

การประชุมทางไกลอิเล็กทรอนิกส์ (Video Conferencing)

           เป็นการสื่อสารข้อมูลโดยการส่งภาพและเสียงจากฝ่ายหนึ่งไปยังอีกฝ่ายหนึ่ง ในการใช้ Video Conferencing จะต้องมีอุปกรณ์สำหรับการบันทึกภาพและอุปกรณ์บันทึกเสียง โดยที่ภาพและเสียงที่ส่งไปนั้นอาจเป็นภาพเคลื่อนไหวที่มีเสียงประกอบได้ การประชุมทางไกลอิเล็กทรอนิกส์ช่วยประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปประชุม

การระบุตำแหน่งด้วยดาวเทียม(Global Positioning Systems : GPSs)

           เป็นระบบที่ใช้วิเคราะห์และระบุตำแหน่งของคน สัตว์ หรือสิ่งของที่เป็นเป้าหมายของระบบ การวิเคราะห์ตำแหน่งทำได้โดยใช้ดาวเทียมระบุตำแหน่ง ปัจจุบันมีการนำไปใช้ในระบบการเดินเรือ เครื่องบินและเริมพัฒนามาใช้เพื่อระบุตำแหน่งของรถยนต์ด้วย

กรุ๊ปแวร์(groupware)

           เป็นโปรแกรมประยุกต์ที่ช่วยสนับสนุนการทำงานของกลุ่มบุคคลให้สามารถทำงานร่วมกัน การใช้ทรัพยากรและสารสนเทศร่วมกันโดยผ่านระบบเครือข่าย

การโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์(Electronic Fund Transfer : EFT)

         ปัจจุบันผู้ใช้สามารถชำระค่าสินค้าและบริการโดยการโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์จากบัญชีธนาคารที่ให้บริการโอนเงินอัตโนมัติด้วยเทคโนโลยีการสื่อสารที่ทันสมัย กิจกรรมที่ประยุกต์ใช้กันเป็นประจำ ได้แก่ การโอนเงินผ่านทางตู้ ATM

การแลกเปลี่ยนข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์(Electronic Data Interchange : EDI)

         เป็นระบบแลกเปลี่ยนข้อมูลเชิงทางอิเล็กทรอนิกส์ระหว่างองค์การ โดยใช้แบบฟอร์มของเองกสารอิเล็กทรอนิกส์ที่มีรูปแบบมาตรฐานสากล เช่น การส่งใบสั่งสินค้า ใบส่งของ ใบเรียกเก็บเงิน




การระบุลักษณะของวัตถุด้วยคลื่นความถี่วิทยุ(RFID)

           เป็นระบบระบุลักษณะของวัตถุด้วยคลื่นความถี่วิทยุ ปัจจุบันมีการนำ RFID ไปประยุกต์ใช้งานหลากหลายประเภท เช่น ห่วงโซ่อุปทาน ระบบโลจิสติกส์การตรวจสอบฉลากยา การใช้ในฟาร์มเลี้ยงสุกร บัตรทางด่วน บัตรรถไฟฟ้าใต้ดิน ระบบหนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์


ชนิดของสัญญาณข้อมูล
1. สัญญาณแอนะล็อก(Analog Signal)
เป็นสัญญาณแบบต่อเนื่อง มีลักษณะเป็นคลื่นไซน์ (Sine Wave) โดยที่แต่ละคลื่นจะมีความถี่และความเข้มของสัญญาณที่ต่างกัน เมื่อนำสัญญาณข้อมูลเหล่านี้มาผ่านอุปกรณ์รับสัญญาณและแปลงสัญญาณและแปลงสัญญาณก็จะได้ข้อมูลที่ต้องการ


             




          


         เฮิรตซ์ (Hertz) คือหน่วยวัดความถึ่ของสัญญาณข้อมูลแบบแอนะล็อก วีธีวัดความถึ่จะนับจำนวนรอบของสัญญาณที่เกิดขึ้นภายใน วินาที เช่น ความถึ่ 60 Hz หมายถึง ใน วินาที สัญญาณมีการเปลี่ยนแปลงระดับสัญญาณ 60 รอบ   

2.สัญญาณดิจิทัล(Digital Signal)
สัญญาณดิจิทัลเป็นสัญญาณแบบไม่ต่อเนื่อง รูปสัญญาณของสัญญาณมีความเปลี่ยนแปลงที่ไม่ปะติดปะต่ออย่างสัญญาณแอนะล็อก ในการสื่อสารด้วยสัญญาณดิจิทัล ข้อมูลในคอมพิวเตอร์ซึ่งเป็นเลขฐานสอง (0และ1) จะถูกแทนด้วยสัญญาณดิจิทัล


           Bit Rate เป็นอัตราความเร็วในการส่งข้อมูลแบบดิจิทัล วิธีวัดความเร็วจะนับจำนวนบิตข้อมูลที่ส่งได้ในช่วงระยะเวลา วินาที เช่น 14,400 bps หมายถึง มีความเร็วในการส่งข้อมูลจำนวน 14,4001 บิตในระยะเวลา วินาที 

โมเด็ม(Modulator DEModulator หรือ Modem)

            โมเด็ม(Modem) เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่แปลงสัญญาณดิจิทัลจากเครื่องคอมพิวเตอร์ให้เป็นสัญญาณแอนะล็อก ความเร็วในการสื่อสารข้อมูลของโมเด็มวันเป็นบิตต่อวินาที (bit per second หรือ bps) ความเร็วของโมเด็มโดยทั่วไปมีความเร็วเป็น 56 กิโลบิตต่อวินาที





ทิศทางการส่งข้อมูล(Transmission Mode)
 สามารถจำแนกทิศทางการส่งข้อมูลได้ รูปแบบ 

  1. การส่งข้อมูลแบบทิศทางเดียว (Simplex Transmission)
  2. การส่งข้อมูลแบบสองทิศทางสลับกัน (Half-Duplex Transmission)
  3. การส่งข้อมูลแบบสองทิศทางพร้อมกัน (Full-Duplex Transmission)

                                                    ทิศทางการส่งข้อมูล



ตัวกลางการสื่อสาร

1. สื่อนำข้อมูลแบบมีสาย(Wired Media) สื่อข้อมูลแบบมีสายที่นิยมใช้มี ชนิดดังนี้


  • สายคู่บิดเกลียว (Twisted-Pair Cable)
    สายคู่บิดเกลียว เป็นสายสัญญาณนำข้อมูลไฟฟ้า สายแต่ละเส้นมีลักษณะคล้ายสายไฟทั่วไป จำนวนสายจะมีเป็นคู่ เช่น 2 , 4 หรือ เส้น แต่ละคู่จะมีพันบิดเกลียว การบิดเกลียวนี้จะช่วยลดสัญญาณรบกวนที่เกิดขึ้นในการส่งข้อมูล ทำให้สามารถส่งข้อมูลได้ไกลกว่าปกติ



  • สายโคแอกเชียล (Coaxial Cable)
    สายโคแอกเชียล เป็นสายสัญญาณนำข้อมูลไฟฟ้า มีความถี่ในการส่งข้อมูลประมาณ 100 MHzถึง500 MHz สายโคแอกเชียลมีความมเร็วในการส่งข้อมูลและราคาสูงกว่าสายบิดเกลียว




  • สายใยแก้วนำแสง(Optical Fiber Cable)
    สายสัญญาณทำจากใยแก้วหรือสารนำแสงหุ้มด้วยวัสดุป้องกันแสง มีความเร็วในการส่งสูงกับความเร็วแสง สามารถใช้ในการส่งข้อมูลที่มีความถี่สูงได้ สัญญาณที่ส่งผ่านสายใยแก้วนำแสง คือ แสง และ สัญญาณรบกวนจากภายนอกมีเพียงอย่างเดียว คือ แสงจากภายนอก




2. สื่อนำข้อมูลแบบไร้สาย(Wireless Media) การสื่อสารข้อมูลแบบไร้สาย จะใช้อากาศเป็นตัวกลางของการสื่อสาร เช่น


  • แสงอินฟราเรด (Infrared) เป็นการสื่อสารข้อมูลโดยใช้แสงอินฟราเรดเป็นสื่อกลาง การสื่อสารประเภทนี้นิยมใช้สำหรับการสื่อสารข้อมูลระยะใกล้ เช่น การสื่อการจากรีโมทคอนโทรลไปยังเครื่องรับวิทยุหรือโทรทัศน์


  • สัญญาณวิทยุ (Radio Wave) เป็นสื่อนำข้อมูลแบบไร้สาย (Wireless Media) ที่มีการส่งข้อมูลเป็นสัญญาณคลื่อนวิทยุไปในอากาศไปยังตัวรับสัญญาณ


  • ไมโครเวฟภาคพื้นดิน (Terrestrial Microwave) เป็นการสื่อสารไรสายอีกประเภทหนึ่ง การสื่อสารประเภทนี้จะมีเสาส่งสัญญาณไมโครเวฟที่อยู่ห่างๆ กัน ทำการส่งข้อมูลไปในอากาศไปยังเสารับข้อมูล

 



  • การสื่อสารผ่านดาวเทียม (Satellite Communication) เป็นการสื่อสารจากพื้นโลกที่มีการส่งสัญญาณข้อมูลไปยังดาวเทียม โดยดาวเทียมจะทำหน้าที่เป็นสถานีทวนสัญญาณ เพื่อจัดส่งสัญญาณต่อไปยังสถานีภาพพื้นดินอื่นๆ ระยะทางจะโลกถึงดาวเทียมประมาณ 22,000 ไมล์


หลักเกณฑ์การพิจารณาเลือกสื่อนำข้อมูล

  1. ราคา
  2. ความเร็ว
  3. ระยะทาง
  4. สัญญาณรบกวนที่อาจจะเกิดขึ้น
  5. ความปลอดภัยของข้อมูล


มาตรฐานเครือข่ายไร้สาย   (Wireless Networking Protocols)

  • บลูทูธ (Bluetooth) บลูทธเป็นชื่อที่นิยมเรียกสำหรับมาตรฐานเครือข่ายแบบ 802.15 บลูทูธเป็นเทคโนโลยีไร้สายที่ใช้การส่งข้อมูลทางคลื่น วิทยุ
 



  • ไว-ไฟ (Wi-Fi) Wi-Fi หรือ Wireless Fidelity คือ เทคโนโลยีการเชื่อมคอมพิวเตอร์หรือ PDA ต่อเข้ากับเครือข่าย LAN (Local Area Network) โดยการใช้คลื่นวิทยุเป็นตัวส่งสัญญาณเพื่อใช้ในการรับส่งข้อมูล จึงเป็นลักษณะของ wirelessไม่ใช่ wire line การเชื่อมต่อลักษณะนี้โดยมากในปัจจุบันจะใช้เทคโนโลยี Wireless LAN 802.11b ซึ่งสามารถรับส่งข้อมูลด้วยความเร็วสูงสุด 11 Mbps ซึ่งนับว่าสูงมาก สูงกว่าการต่ออินเตอร์เน็ทตามบ้านแบบเทียบกันไม่ได้ และนอกจากนั้น การพัฒนามาใช้ 802.11g ยังจะเพิ่มความเร็วไปถึง 54 Mbps (แต่ราคาค่าติดตั้งก็สูงตามไปด้วยนะครับ) อย่างไรก็ตาม ความเร็วในการรับส่งข้อมูลแบบ Wi-Fi จะเป็นการแชร์สัญญาณกันระหว่างผู้ใช้ ดังนั้น ถ้าหากมีจำนวนผู้ใช้มากขึ้น ความเร็วก็จะลดลงตามไปด้วย ลักษณะการใช้งานเพื่อต่อเข้ากับเนทเวิร์คของระบบ Wi-Fi จะใช้อุปกรณ์หลักที่เรียกว่า Access Point ซึ่งสามารถให้บริการที่รัศมีประมาณ 50 ถึง 100 เมตร ส่งสัญญาณด้วยคลื่นความถี่ที่ 2.4 GHz (คล้ายๆ กับ Bluetooth แต่ในรัศมีที่กว้างกว่ามาก) แต่ก็อีกเช่นกัน ประสิทธิภาพในการส่งสัญญาณจะดีหรือไม่ก็ขึ้นอยู่กับระยะทางระหว่างโน้ตบุคของคุณกับตัว Access Point ยิ่งไกลกัน ความเร็วก็จะลดลง หรือถ้ามีสิ่งกีดขวางมากๆ เช่น กำแพง ก็จะทำให้ประสิทธิภาพของการรับส่งข้อมูลลดลงไปด้วยเช่นกัน ส่วนโน้ตบุคหรือ PDA ของคุณที่ใช้ ก็จะต้องมี Wireless Access card ที่เป็นมาตรฐานของ Wi-Fi เพื่อเข้าไปใช้กับเนทเวิร์คนั้น ซึ่งอุปกรณ์รุ่นใหม่ๆ มักจะมีตัว Wireless card นี้ติดมาเป็นมาตรฐานของเครื่องอยู่แล้ว เทคโนโลยี Wi-Fi กำลังเป็นที่นิยมมากขึ้นเรื่อยๆ เช่นในสหรัฐอเมริกา ร้าน McDonalds ได้เริ่มติดตั้งระบบ Wi-Fiในบางสาขาแล้ว เช่นเดียวกับร้านกาแฟ Starbucks ดังนั้น ลูกค้าที่เข้ามานั่งรับประทานอาหารหรือนั่งดื่มกาแฟ ก็จะสามารถทำงานไปด้วยได้ โดยการเชื่อมต่อเข้ากับระบบเนทเวิร์คความเร็วสูงที่ทางร้านจัดหาให้ นอกจากนั้น โรงพยาบาลในหลายๆ รัฐยังติดตั้งระบบนี้เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับแพทย์และนางพยาบาล ในการเข้าไปตรวจสอบข้อมูลของคนไข้เพื่อตรวจ และสั่งยา เพื่อความรวดเร็วและเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน และที่หรูหราไปกว่านั้น บริษัทผลิตเครื่องบินโบอิ้งยังได้เริ่มที่จะติดตั้งระบบ Wi-Fi นี้ในเครื่องโบอิ้งกว่า 100 ลำ ต่อไปผู้โดยสารก็จะสามารถใช้อินเตอร์เนท หรือใช้โทรศัพท์ระหว่างการเดินทางได้อย่างสะดวกสบาย ในประเทศไทย บริษัทหลายบริษัทได้ให้ความสนใจในการติด Wi-Fi ในอาคารสำนักงาน เพื่อให้พนักงานสามารถเชื่อมต่อเข้ากับระบบเนทเวิร์คหรือแหล่งข้อมูลของบริษัท จากที่ใดก็ได้ในบริเวณอาคาร ส่วนผู้ให้บริการอินเตอร์เนท (ISP) ก็ได้เริ่มจับมือกับบริษัทต่างๆ ในการติดตั้ง Access Point หรือที่เราเรียกว่า Hot spot เพื่อให้บริการ Wi-Fi ตามสถานที่ต่างๆ เช่น โรงแรม ร้านอาหาร ร้านกาแฟ และไม่ใช่แต่เฉพาะในกรุงเทพฯ บริการ Hot spot นี้ยังสามารถหาได้ตามโรงแรมในเมืองท่องเที่ยวใหญ่ๆ อย่างเช่น หัวหิน เชียงใหม่ ภูเก็ต หรือที่สมุย ได้อีกด้วย ในด้านของการศึกษา มหาวิทยาลัยบางแห่ง เริ่มที่จะติดตั้ง Access Point เพื่อให้นิสิตนักศึกษาสามารถใช้โน้ตบุคส่วนตัว เข้ามาใช้ในมหาวิทยาลัย เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการเรียนและการค้นคว้าหาข้อมูลต่างๆ และที่เห็นประโยชน์อย่างชัดเจนของการใช้ระบบ Wi-Fi คือการติดตั้ง Access Point ไว้ตามที่ต่างๆ ในการประชุมผู้นำเอเปคในครั้งที่เพิ่งผ่านมา เพราะนอกจากผู้นำจากประเทศต่างๆ จะสามารถเชื่อมต่อกับเนทเวิร์คความเร็วสูง จากอุปกรณ์ของท่านเหล่านั้นเองแล้ว ประเทศไทยเรายังได้รับการกล่าวถึงในเรื่องของการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ในการเพิ่มประสิทธิภาพในการประชุมอีกด้วย





  • ไว-แมกซ์ (Wi-MAX)  ไว-แมกซ์ ย่อมาจาก Worldwide InterOperability for Microwave Access เป็นเทคโนโลยีการสื่อสารไร้สายระดับบรอดแบรนด์บนมาตรฐาน IEEE 802.16 โดยสามารถส่งข้อมูลกระจายสัญญาณจากจุดหนึ่งไปยังหลายจุดได้พร้อมๆกัน





เครือข่ายคอมพิวเตอร์

               เครือข่ายคอมพิวเตอร์เกิดจากการสื่อสารข้อมูลของเครื่องคอมพิวเตอร์ตั้งแต่ 2 เครื่องขึ้นไป โดยใช้วิธีการสื่อสารข้อมูลทั่วไปในการเชื่อมต่อสื่อสาร ระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยในการเชื่อมต่อนั้น ประสิทธิภาพของเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขึ้นอยู่กับองค์ประกอบต่างๆ ดังนี้      


จำนวนของเครื่องคอมพิวเตอร์ภายในเครือข่าย
        ประสิทธิภาพของเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขึ้นอยู่กับจำนวนเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ต่อพ่วงภายในเครือข่าย กล่าวคือ ถ้าจำนวนเครื่องคอมพิวเตอร์ ที่ต่อพ่วงมีจำนวนมาก จะทำให้ประสิทธิภาพของการสื่อสารต่ำ เนื่องจากต้องมีการแบ่งการใช้สื่อนำข้อมูลโดยคอมพิวเตอร์หลายเครื่อง ในทางกลับกัน ถ้าจำนวนเครื่องคอมพิวเตอร์ในเครือข่ายมีจำนวนเหมาะสมกับอุปกรณ์สื่อสาร จะทำให้ระบบเครือข่ายมีประสิทธิภาพสูง

สื่อนำข้อมูล (transmission medium)
        เครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่ใช้สื่อนำข้อมูลที่เหมาะสมกับระบบ จะเป็นเครือข่ายที่สามารถสื่อสารข้อมูลกันได้อย่างดี แต่ถ้ามีการนำสื่อนำข้อมูล ที่มีความเร็วต่ำหรือไม่ เหมาะกับการใช้งานมาใช้ในเครือข่ายคอมพิวเตอร์จะทำให้เครือข่ายคอมพิวเตอร์นั้นจะมีประสิทธิภาพต่ำ นอกจากการเลือก สื่อนำข้อมูลที่เหมาะสมแล้วจะต้องคำนึงถึงวิธีการจัดวางสื่อนำข้อมูลเหล่านั้น โดยการจัดวางสื่อนำข้อมูลจะต้องจัดวางตำแหน่งให้เหมาะสมกับการใช้งาน และสภาพแวดล้อม

เครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ (hardware)
        การสื่อสารข้อมูลภายในเครือข่ายคอมพิวเตอร์จะต้องมีเครื่องคอมพิวเตอร์ต่างๆ ทำหน้าที่ต่างกันไป เครื่องคอมพิวเตอร์เหล่านั้นจะมีผล ต่อประสิทธิภาพของเครือข่ายคอมพิวเตอร์อย่างยิ่ง ถ้าเครื่องคอมพิวเตอร์เหล่านั้นมีประสิทธิภาพต่ำจะทำให้เครือข่ายคอมพิวเตอร์มีประสิทธิภาพต่ำด้วย นอกจากเครื่องคอมพิวเตอร์แล้ว อุปกรณ์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการสื่อสารข้อมูลระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ เช่น โมเด็ม ก็ส่งผลต่อประสิทธิภาพ ต่อระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์เช่นกัน

  1. จำนวนของเครื่องคอมพิวเตอร์ภายในเครือข่าย
            ประสิทธิภาพของเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขึ้นอยู่กับจำนวนเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ต่อพ่วงภายในเครือข่าย กล่าวคือ ถ้าจำนวนเครื่องคอมพิวเตอร์ ที่ต่อพ่วงมีจำนวนมาก จะทำให้ประสิทธิภาพของการสื่อสารต่ำ เนื่องจากต้องมีการแบ่งการใช้สื่อนำข้อมูลโดยคอมพิวเตอร์หลายเครื่อง ในทางกลับกัน ถ้าจำนวนเครื่องคอมพิวเตอร์ในเครือข่ายมีจำนวนเหมาะสมกับอุปกรณ์สื่อสาร จะทำให้ระบบเครือข่ายมีประสิทธิภาพสูง
  2. สื่อนำข้อมูล (transmission medium)
            เครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่ใช้สื่อนำข้อมูลที่เหมาะสมกับระบบ จะเป็นเครือข่ายที่สามารถสื่อสารข้อมูลกันได้อย่างดี แต่ถ้ามีการนำสื่อนำข้อมูล ที่มีความเร็วต่ำหรือไม่ เหมาะกับการใช้งานมาใช้ในเครือข่ายคอมพิวเตอร์จะทำให้เครือข่ายคอมพิวเตอร์นั้นจะมีประสิทธิภาพต่ำ นอกจากการเลือก สื่อนำข้อมูลที่เหมาะสมแล้วจะต้องคำนึงถึงวิธีการจัดวางสื่อนำข้อมูลเหล่านั้น โดยการจัดวางสื่อนำข้อมูลจะต้องจัดวางตำแหน่งให้เหมาะสมกับการใช้งาน และสภาพแวดล้อม
  3. เครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ (hardware)
            การสื่อสารข้อมูลภายในเครือข่ายคอมพิวเตอร์จะต้องมีเครื่องคอมพิวเตอร์ต่างๆ ทำหน้าที่ต่างกันไป เครื่องคอมพิวเตอร์เหล่านั้นจะมีผล ต่อประสิทธิภาพของเครือข่ายคอมพิวเตอร์อย่างยิ่ง ถ้าเครื่องคอมพิวเตอร์เหล่านั้นมีประสิทธิภาพต่ำจะทำให้เครือข่ายคอมพิวเตอร์มีประสิทธิภาพต่ำด้วย นอกจากเครื่องคอมพิวเตอร์แล้ว อุปกรณ์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการสื่อสารข้อมูลระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ เช่น โมเด็ม ก็ส่งผลต่อประสิทธิภาพ ต่อระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์เช่นกัน
  4. โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการสื่อสารข้อมูล (software)
            โปรแกรมคอมพิวเตอร์จะทำหน้าที่ประมวลผลข้อมูลที่เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่ส่ง ข้อมูล รับข้อมูล หรือเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เป็นตัวกลางใน การติดต่อสื่อสารโปรกแรมคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการสื่อสารข้อมูลที่ดีสามารถทำให้สื่อสารข้อมูลได้
 
โครงสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (TOPOLOGY)

              การนำเครื่องคอมพิวเตอร์มาเชื่อมต่อกันเพื่อประโยชน์ของการสื่อสารนั้น สามารถกระทำได้หลายรูปแบบ ซึ่งแต่ละแบบก็มีจุดเด่นที่แตกต่างกันไป โดยทั่วไปแล้วโครงสร้างของเครือข่ายคอมพิวเตอร์สามารถจำแนกตามลักษณะของการเชื่อมต่อดังต่อไปนี้

1. โครงสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบบัส (bus topology)

        โครงสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบบัส จะประกอบด้วย สายส่งข้อมูลหลัก ที่ใช้ส่งข้อมูลภายในเครือข่าย เครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่อง จะเชื่อมต่อเข้ากับสายข้อมูลผ่านจุดเชื่อมต่อ เมื่อมีการส่งข้อมูลระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์หลายเครื่องพร้อมกัน จะมีสัญญาณข้อมูลส่งไปบนสายเคเบิ้ล และมีการแบ่งเวลาการใช้สายเคเบิ้ลแต่ละเครื่อง ข้อดีของการเชื่อมต่อแบบบัส คือ ใช้สื่อนำข้อมูลน้อย ช่วยให้ประหยัดค่าใช้จ่าย และถ้าเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องใดเครื่องหนึ่งเสียก็จะไม่ส่งผลต่อการทำงานของระบบโดยรวม แต่มีข้อเสียคือ การตรวจจุดที่มีปัญหา กระทำได้ค่อนข้างยาก และถ้ามีจำนวนเครื่องคอมพิวเตอร์ในเครือข่ายมากเกินไป จะมีการส่งข้อมูลชนกันมากจนเป็นปัญหา


2. โครงสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบวงแหวน (ring topology)
        โครงสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบวงแหวน มีการเชื่อมต่อระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์โดยที่แต่ละการเชื่อมต่อจะมีลักษณะเป็นวงกลม การส่งข้อมูลภายในเครือข่ายนี้ก็จะเป็นวงกลมด้วยเช่นกัน ทิศทางการส่งข้อมูลจะเป็นทิศทางเดียวกันเสมอ จากเครื่องหนึ่งจนถึงปลายทาง ในกรณีที่มีเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องใดเครื่องหนึ่งขัดข้อง การส่งข้อมูลภายในเครือข่ายชนิดนี้จะไม่สามารถทำงานต่อไปได้ ข้อดีของโครงสร้าง เครือข่ายแบบวงแหวนคือ ใช้สายเคเบิ้ลน้อย และถ้าตัดเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เสียออกจากระบบ ก็จะไม่ส่งผลต่อการทำงานของระบบเครือข่ายนี้ และจะไม่มีการชนกันของข้อมูลที่แต่ละเครื่อง
 
 
  
3. โครงสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบดาว (star topology)
        โครงสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบดาว ภายในเครือข่ายคอมพิวเตอร์จะต้องมีจุกศูนย์กลางในการควบคุมการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ หรือ ฮับ (hub) การสื่อสารระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ต่างๆ จะสื่อสารผ่านฮับก่อนที่จะส่งข้อมูลไปสู่เครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นๆ โครงสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์ แบบดาวมีข้อดี คือ ถ้าต้องการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เครื่องใหม่ก็สามารถทำได้ง่ายและไม่กระทบต่อเครื่องคอมพิวเตอร์อื่นๆ ในระบบ ส่วนข้อเสีย คือ ค่าใช้จ่ายในการใช้สายเคเบิ้ลจะค่อนข้างสูง และเมื่อฮับไม่ทำงาน การสื่อสารของคอมพิวเตอร์ทั้งระบบก็จะหยุดตามไปด้วย


 
 4. โครงสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบเมช (mesh topology)
        โครงสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบเมช มีการทำงานโดยเครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องจะมีช่องสัญญาณจำนวนมาก เพื่อที่จะเชื่อมต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นๆทุกเครื่อง โครงสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์นี้เครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องจะส่งข้อมูล ได้อิสระไม่ต้องรอการส่งข้อมูลระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นๆ ทำให้การส่งข้อมูลมีความรวดเร็ว แต่ค่าใช้จ่ายสายเคเบิ้ลก็สูงด้วยเช่นกัน
  
  5. โครงสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบผสม (hybrid topology)
        เป็นโครงสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่ผสมผสานความสามารถของโครงสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์หลาย ๆ แบบรวมกัน ประกอบด้วยเครือข่าย คอมพิวเตอร์ย่อยๆ หลายเครือข่ายที่มีโครงสร้างแตกต่างกันมาเชื่อมต่อกันตามความเหมาะสม ทำให้เกิดเครือข่ายที่มีประสิทธิภาพสูงในการสื่อสารข้อมูล



ประเภทของเครื่องคอมพิวเตอร์ภายในเครือข่ายคอมพิวเตอร์
  • เซิร์ฟเวอร์(Server) เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่ให้บริการต่างๆโดยแต่ละเครือข่ายคอมพิวเตอร์สามารถมีเครื่องคอมพิวเตอร์เซิร์ฟเวอร์ได้หลายเครื่องตามความต้องการชนิดของเครื่องคอมพิวเตอร์เซิร์ฟเวอร์มีดังนี้

  • ไฟล์เซิฟเวอร์ (File Server) ทำหน้าที่ให้บริการแฟ้มข้อมูลแก่เครื่องคอมพิวเตอร์อื่นๆ ซึ่งสามารถเรียกใช้แฟ้มงานต่างๆ จากเซิร์ฟเวอร์ได้

  • ดาต้าเบสเซิร์ฟเวอร์ (Database Server) ทำหน้าที่ให้บริการฐานข้อมูลแก่เครื่องคอมพิวเตอร์ภายในเครือข่าย

  • พรินต์เซิร์ฟเวอร์ (Print Server) ทำหน้าที่ให้บริการเครื่องพิมพ์ในการพิมพ์เอกสารต่างๆ

  • อินเทอร์เน็ตเซิร์ฟเวอร์ (Internet Server) เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่สามารถติดต่อกับเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้และทำหน้าที่ให้บริการแก่เครื่องคอมพิวเตอร์อื่นๆ ในการใช้อินเตอร์เน็ต

  • เว็ปเซิร์ฟเวอร์ (Web Server) ทำหน้าที่เก็บข้อมูลเว็บไซต์ และเมื่อเครื่องคอมพิวเตอร์อื่นต้องการเรียกดูข้อมูลจากเว็บไซต์เหล่านั้น เว็บเซิร์ฟจะทำหน้าที่ส่งข้อมูลเหล่านั้นไปให้

  • เมลเซิร์ฟเวอร์ (Mail Server) ทำหน้าที่เก็บจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Mails หรือ E-Mail)

  • ระบบโดเมนเนม (Domain Name System Server) ทำหน้าที่เก็บชื่อโดเมน และแปลชื่อโดเมนให้เป็นอีแอดเดรส (IP Address)

  • เวิร์กสเตชั่น (Workstation) เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ทั่วๆ ไปที่สามารถทำการประมวลผลข้อมูลต่างๆ

  • ไคลเอนต์ (Client) เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีการเรียกใช้ข้อมูลจากเซิร์ฟเวอร์

  • เทอร์มินัล (Terminal) เป็นอุปกรณ์ที่ประกอบด้วยจอภาพ แป้นพิมพ์ และอุปกรณ์อื่นๆ เทอร์มินัลไม่สามารถประมวลผลข้อมูลได้ด้วยตนเองแต่ใช้การสื่อสารข้อมูลกับเซิร์ฟเวอร์และให้เซิร์ฟเวอร์ทำการประมวลผลข้อมูลพร้อมทั้งส่งข้อมูลมาปรากฏบนจอภาพ

รูปแบบการประมวลผลข้อมูลในเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (Computing Architecture)

การประมวลผลข้อมูลที่ศูนย์กลาง (Centralized Processing)




การประมวลผลข้อมูลแบบไคลเอนต์/เซิร์ฟเวอร์


ชนิดของเครือข่ายคอมพิวเตอร์
  • Personal Area Network (PAN) เครือข่ายส่วนบุคคล เป็นเครือข่ายสำหรับการแลกเปลี่ยนสารสนเทศและบริการตลอดจนการใช้งานอุปกรณ์ร่วมกัน เช่น เทคโนโลยี บลูทูธ


  • Local Area Network (LAN) เครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบท้องถิ่น ระยะทางการเชื่อมต่อประมาณไม่เกิน 10 กิโลเมตร มีความเร็วในการแลกเปลี่ยนข้อมูลประมาณ 10-100 Mbps


  •  Metropolitan Area Network (MAN) เครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ อาจครอบคุมพื้นที่ทั้งตำบลหรืออำเภอ


  • Wide Area Network (WAN) เครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่มาก ภายในเครือข่ายประกอบไปด้วยเครือข่ายแลล Lanและ Man พื้นที่ของเครือข่ายแบบนี้ สามารถครอบคลุมได้ทั้งประเทศ หรือทั่วโลก