การสื่อสารข้อมูล และเครือข่ายคอมพิวเตอร์
เทคโนโลยีการสื่อสารมีส่วนช่วยให้การดำเนินงานธุรกิจในปัจจุบันเป็นไปอย่างราบรื่น ช่วยให้การส่งข้อมูลในรูปแบบต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นทางโทรสาร โทรศัพท์ อีเมล์ โทรทัศน์ และอื่นๆ ไปยังจุดหมายที่อยู่ห่างไกลเป็นไปอย่างสะดวกและรวดเร็ว
เทคโนโลยีคมนาคมและการสื่อสารนำมาประยุกต์ใช้เพื่อพัฒนาและปรับปรุงการดำเนินงานทางธุรกิจโดยมีวัตถุประสงค์หลัก 4 ประการดังนี้
1. เพื่อการสื่อสารทางธุรกิจที่ดีขึ้น ช่องทางการสื่อสารระหว่างบุคคลมีหลายรูปแบบ เทคโนโลยีคมนาคมช่วยให้การ ติดต่อสื่อสารรวดเร็ว ถูกต้อง และได้รับข้อมูลสะท้อนกลับอย่างทันที2. เพื่อให้การดำเนินงานมีประสิทธิภาพสูงขึ้น โดยปกติการดำเนินงานทางธุรกิจมักจะมีการใช้งาน ข้อมูลร่วมกันในแต่ละแผนก ซึ่งเทคโนโลยีโทรคมนาคมช่วยอำนวยความสะดวกในการสื่อสารใช้งานข้อมูลร่วมกัน ให้ความสะดวกในการบันทึกข้อมูลและประมวลผลข้อมูล ลดความซ้ำซ้อน การทำงานที่ผิดพลาด ส่งผลให้การดำเนินธุรกิจมีความถูกต้องและมีประสิทธิ์ภาพสูงขึ้น
3. เพื่อการกระจายข้อมูลที่ดีขึ้น ช่วยให้การรับส่งข้อมูลระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์กระทำได้อย่างสะดวก เครื่อง คอมพิวเตอร์ ปลายทางสามารถเรียกใช้ฐานข้อมูลกลางด้วยความเร็วรวด
4. เพื่อการจัดการกระบวนการธุรกิจที่สะดวกขึ้น พัฒนาการทางอินเตอร์เน็ตช่วยให้การดำเนินธุรกิจ ออนไลน์พัฒนามะ หยุดยั้งตามไปด้วย กระบวนการทางธุรกิจอัตโนมัติกระทำด้วยการสนับสนุน ของเทคโนโลยี คมนาคมที่ทันสมัย
องค์ประกอบของการสื่อสาร
- ผู้ส่งข้อมูล (Sender) ทำหน้าที่ส่งข้อมูล
- ผู้รับข้อมูล (Receiver) ทำหน้าที่รับข้อมูล
- ข้อมูล (Data) ข้อมูลที่ผู้ส่งข้อมูลต้องการส่งไปยังผู้รับข้อมูล อาจอยู่ในรูปของข้อความ เสียง ภาพเคลื่อนไหว
- สื่อนำข้อมูล (Medium) ทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการขนถ่ายข้อมูล เช่น สายเคเบิล ใยแก้วนำแสง อากาศ
- โปรโตคอล (Protocol) กฎหรือวิธีที่ถูกกำหนดขึ้นเพื่อการสื่อสารข้อมูลในรูปแบบตามวิธีการสื่อสารที่ตกลง กันระหว่าง ผู้ส่งข้อมูล กับ ผู้รับข้อมูล
การใช้เทคโนโลยีการสื่อสาร
การสื่อสารข้อมูลในยุคปัจจุบัน ได้ตะหนักถึง ความสำคัญในการนำเทคโนโลยีคมนาคมและการสื่อสารมาช่วยงานเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของการดำเนินงาน ซึ้งการประยุกต์เทคโนโลยีการสื่อสารในองค์การมีดังนี้
ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Mail : E-mail)
การใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เช่น โทรศัพท์มือถือ คอมพิวเตอร์ และพีดีเอ ส่งข้อความอิเล็กทรอนิกส์ไปยังบุคคลอื่น โดยการสื่อสารนี้บุคคลที่ทำการสื่อสารจะต้องมีชื่อและที่อยู่ในรูปแบบอีเมล์แอดเดรส
โทรสาร (Facsimile หรือ Fax)
เป็นการส่งข้อมูล ซึ่งอาจเป็นข้อความที่เขียนขึ้นด้วยมือหรือการพิมพ์ รูปภาพ หรือกราฟต่างๆ จากเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อื่นๆ ที่มีอุปกรณ์ที่เรียกว่าแฟกซ์-โมเด็มไปยังเครื่องรับโทรสาร การส่งข้อความในลักษณะนี้ช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายและมีประสิทธิภาพสูงกว่าการส่งข้อมูลผ่านเครื่องโทรสารธรรมดา
วอยซ์เมล์ (Voice Mail)
เป็นการส่งข้อความเป็นเสียงพูดให้กลายเป็นข้อความอิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบเครือข่ายการสื่อสารข้อความจะถูกบันทึกไว้ในอุปกรณ์บันทึกเสียงที่เรียกว่า วอยซ์เมล์บล็อก เมื่อผู้รับเปิดฟังข้อความดังกล่าวก็จะถูกแปลงกลับไปอยู่ในรูปแบบของเสียงพูดตามเดิม
การประชุมทางไกลอิเล็กทรอนิกส์ (Video Conferencing)
เป็นการสื่อสารข้อมูลโดยการส่งภาพและเสียงจากฝ่ายหนึ่งไปยังอีกฝ่ายหนึ่ง ในการใช้ Video Conferencing จะต้องมีอุปกรณ์สำหรับการบันทึกภาพและอุปกรณ์บันทึกเสียง โดยที่ภาพและเสียงที่ส่งไปนั้นอาจเป็นภาพเคลื่อนไหวที่มีเสียงประกอบได้ การประชุมทางไกลอิเล็กทรอนิกส์ช่วยประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปประชุม
การระบุตำแหน่งด้วยดาวเทียม(Global Positioning Systems : GPSs)
เป็นระบบที่ใช้วิเคราะห์และระบุตำแหน่งของคน สัตว์ หรือสิ่งของที่เป็นเป้าหมายของระบบ การวิเคราะห์ตำแหน่งทำได้โดยใช้ดาวเทียมระบุตำแหน่ง ปัจจุบันมีการนำไปใช้ในระบบการเดินเรือ เครื่องบินและเริมพัฒนามาใช้เพื่อระบุตำแหน่งของรถยนต์ด้วย
กรุ๊ปแวร์(groupware)
เป็นโปรแกรมประยุกต์ที่ช่วยสนับสนุนการทำงานของกลุ่มบุคคลให้สามารถทำงานร่วมกัน การใช้ทรัพยากรและสารสนเทศร่วมกันโดยผ่านระบบเครือข่าย
การโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์(Electronic Fund Transfer : EFT)
ปัจจุบันผู้ใช้สามารถชำระค่าสินค้าและบริการโดยการโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์จากบัญชีธนาคารที่ให้บริการโอนเงินอัตโนมัติด้วยเทคโนโลยีการสื่อสารที่ทันสมัย กิจกรรมที่ประยุกต์ใช้กันเป็นประจำ ได้แก่ การโอนเงินผ่านทางตู้ ATM
การแลกเปลี่ยนข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์(Electronic Data Interchange : EDI)
เป็นระบบแลกเปลี่ยนข้อมูลเชิงทางอิเล็กทรอนิกส์ระหว่างองค์การ โดยใช้แบบฟอร์มของเองกสารอิเล็กทรอนิกส์ที่มีรูปแบบมาตรฐานสากล เช่น การส่งใบสั่งสินค้า ใบส่งของ ใบเรียกเก็บเงิน
การระบุลักษณะของวัตถุด้วยคลื่นความถี่วิทยุ(RFID)
เป็นระบบระบุลักษณะของวัตถุด้วยคลื่นความถี่วิทยุ ปัจจุบันมีการนำ RFID ไปประยุกต์ใช้งานหลากหลายประเภท เช่น ห่วงโซ่อุปทาน ระบบโลจิสติกส์การตรวจสอบฉลากยา การใช้ในฟาร์มเลี้ยงสุกร บัตรทางด่วน บัตรรถไฟฟ้าใต้ดิน ระบบหนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์
ชนิดของสัญญาณข้อมูล
1. สัญญาณแอนะล็อก(Analog Signal)
เป็นสัญญาณแบบต่อเนื่อง มีลักษณะเป็นคลื่นไซน์ (Sine Wave) โดยที่แต่ละคลื่นจะมีความถี่และความเข้มของสัญญาณที่ต่างกัน เมื่อนำสัญญาณข้อมูลเหล่านี้มาผ่านอุปกรณ์รับสัญญาณและแปลงสัญญาณและแปลงสัญญาณก็จะได้ข้อมูลที่ต้องการ
เฮิรตซ์ (Hertz) คือหน่วยวัดความถึ่ของสัญญาณข้อมูลแบบแอนะล็อก วีธีวัดความถึ่จะนับจำนวนรอบของสัญญาณที่เกิดขึ้นภายใน 1 วินาที เช่น ความถึ่ 60 Hz หมายถึง ใน 1 วินาที สัญญาณมีการเปลี่ยนแปลงระดับสัญญาณ 60 รอบ
2.สัญญาณดิจิทัล(Digital Signal)
สัญญาณดิจิทัลเป็นสัญญาณแบบไม่ต่อเนื่อง รูปสัญญาณของสัญญาณมีความเปลี่ยนแปลงที่ไม่ปะติดปะต่ออย่างสัญญาณแอนะล็อก ในการสื่อสารด้วยสัญญาณดิจิทัล ข้อมูลในคอมพิวเตอร์ซึ่งเป็นเลขฐานสอง (0และ1) จะถูกแทนด้วยสัญญาณดิจิทัล
Bit Rate เป็นอัตราความเร็วในการส่งข้อมูลแบบดิจิทัล วิธีวัดความเร็วจะนับจำนวนบิตข้อมูลที่ส่งได้ในช่วงระยะเวลา 1 วินาที เช่น 14,400 bps หมายถึง มีความเร็วในการส่งข้อมูลจำนวน 14,4001 บิตในระยะเวลา 1 วินาที
โมเด็ม(Modulator DEModulator หรือ Modem)
โมเด็ม(Modem) เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่แปลงสัญญาณดิจิทัลจากเครื่องคอมพิวเตอร์ให้เป็นสัญญาณแอนะล็อก ความเร็วในการสื่อสารข้อมูลของโมเด็มวันเป็นบิตต่อวินาที (bit per second หรือ bps) ความเร็วของโมเด็มโดยทั่วไปมีความเร็วเป็น 56 กิโลบิตต่อวินาที
ทิศทางการส่งข้อมูล(Transmission Mode)
สามารถจำแนกทิศทางการส่งข้อมูลได้ 3 รูปแบบ
- การส่งข้อมูลแบบทิศทางเดียว (Simplex Transmission)
- การส่งข้อมูลแบบสองทิศทางสลับกัน (Half-Duplex Transmission)
- การส่งข้อมูลแบบสองทิศทางพร้อมกัน (Full-Duplex Transmission)
ทิศทางการส่งข้อมูล
ตัวกลางการสื่อสาร
1. สื่อนำข้อมูลแบบมีสาย(Wired Media) สื่อข้อมูลแบบมีสายที่นิยมใช้มี 3 ชนิดดังนี้
สายคู่บิดเกลียว (Twisted-Pair Cable)
สายคู่บิดเกลียว เป็นสายสัญญาณนำข้อมูลไฟฟ้า สายแต่ละเส้นมีลักษณะคล้ายสายไฟทั่วไป จำนวนสายจะมีเป็นคู่ เช่น 2 , 4 หรือ 6 เส้น แต่ละคู่จะมีพันบิดเกลียว การบิดเกลียวนี้จะช่วยลดสัญญาณรบกวนที่เกิดขึ้นในการส่งข้อมูล ทำให้สามารถส่งข้อมูลได้ไกลกว่าปกติ
สายโคแอกเชียล (Coaxial Cable)
สายโคแอกเชียล เป็นสายสัญญาณนำข้อมูลไฟฟ้า มีความถี่ในการส่งข้อมูลประมาณ 100 MHzถึง500 MHz สายโคแอกเชียลมีความมเร็วในการส่งข้อมูลและราคาสูงกว่าสายบิดเกลียว
สายใยแก้วนำแสง(Optical Fiber Cable)
สายสัญญาณทำจากใยแก้วหรือสารนำแสงหุ้มด้วยวัสดุป้องกันแสง มีความเร็วในการส่งสูงกับความเร็วแสง สามารถใช้ในการส่งข้อมูลที่มีความถี่สูงได้ สัญญาณที่ส่งผ่านสายใยแก้วนำแสง คือ แสง และ สัญญาณรบกวนจากภายนอกมีเพียงอย่างเดียว คือ แสงจากภายนอก
2. สื่อนำข้อมูลแบบไร้สาย(Wireless Media) การสื่อสารข้อมูลแบบไร้สาย จะใช้อากาศเป็นตัวกลางของการสื่อสาร เช่น
แสงอินฟราเรด (Infrared) เป็นการสื่อสารข้อมูลโดยใช้แสงอินฟราเรดเป็นสื่อกลาง การสื่อสารประเภทนี้นิยมใช้สำหรับการสื่อสารข้อมูลระยะใกล้ เช่น การสื่อการจากรีโมทคอนโทรลไปยังเครื่องรับวิทยุหรือโทรทัศน์
สัญญาณวิทยุ (Radio Wave) เป็นสื่อนำข้อมูลแบบไร้สาย (Wireless Media) ที่มีการส่งข้อมูลเป็นสัญญาณคลื่อนวิทยุไปในอากาศไปยังตัวรับสัญญาณ
ไมโครเวฟภาคพื้นดิน (Terrestrial Microwave) เป็นการสื่อสารไรสายอีกประเภทหนึ่ง การสื่อสารประเภทนี้จะมีเสาส่งสัญญาณไมโครเวฟที่อยู่ห่างๆ กัน ทำการส่งข้อมูลไปในอากาศไปยังเสารับข้อมูล
การสื่อสารผ่านดาวเทียม (Satellite Communication) เป็นการสื่อสารจากพื้นโลกที่มีการส่งสัญญาณข้อมูลไปยังดาวเทียม โดยดาวเทียมจะทำหน้าที่เป็นสถานีทวนสัญญาณ เพื่อจัดส่งสัญญาณต่อไปยังสถานีภาพพื้นดินอื่นๆ ระยะทางจะโลกถึงดาวเทียมประมาณ 22,000 ไมล์
หลักเกณฑ์การพิจารณาเลือกสื่อนำข้อมูล
- ราคา
- ความเร็ว
- ระยะทาง
- สัญญาณรบกวนที่อาจจะเกิดขึ้น
- ความปลอดภัยของข้อมูล
มาตรฐานเครือข่ายไร้สาย (Wireless Networking Protocols)
- บลูทูธ (Bluetooth) บลูทธเป็นชื่อที่นิยมเรียกสำหรับมาตรฐานเครือข่ายแบบ 802.15 บลูทูธเป็นเทคโนโลยีไร้สายที่ใช้การส่งข้อมูลทางคลื่น วิทยุ
- ไว-ไฟ (Wi-Fi) Wi-Fi หรือ Wireless Fidelity คือ เทคโนโลยีการเชื่อมคอมพิวเตอร์หรือ PDA ต่อเข้ากับเครือข่าย LAN (Local Area Network) โดยการใช้คลื่นวิทยุเป็นตัวส่งสัญญาณเพื่อใช้ในการรับส่งข้อมูล จึงเป็นลักษณะของ wirelessไม่ใช่ wire line การเชื่อมต่อลักษณะนี้โดยมากในปัจจุบันจะใช้เทคโนโลยี Wireless LAN 802.11b ซึ่งสามารถรับส่งข้อมูลด้วยความเร็วสูงสุด 11 Mbps ซึ่งนับว่าสูงมาก สูงกว่าการต่ออินเตอร์เน็ทตามบ้านแบบเทียบกันไม่ได้ และนอกจากนั้น การพัฒนามาใช้ 802.11g ยังจะเพิ่มความเร็วไปถึง 54 Mbps (แต่ราคาค่าติดตั้งก็สูงตามไปด้วยนะครับ) อย่างไรก็ตาม ความเร็วในการรับส่งข้อมูลแบบ Wi-Fi จะเป็นการแชร์สัญญาณกันระหว่างผู้ใช้ ดังนั้น ถ้าหากมีจำนวนผู้ใช้มากขึ้น ความเร็วก็จะลดลงตามไปด้วย ลักษณะการใช้งานเพื่อต่อเข้ากับเนทเวิร์คของระบบ Wi-Fi จะใช้อุปกรณ์หลักที่เรียกว่า Access Point ซึ่งสามารถให้บริการที่รัศมีประมาณ 50 ถึง 100 เมตร ส่งสัญญาณด้วยคลื่นความถี่ที่ 2.4 GHz (คล้ายๆ กับ Bluetooth แต่ในรัศมีที่กว้างกว่ามาก) แต่ก็อีกเช่นกัน ประสิทธิภาพในการส่งสัญญาณจะดีหรือไม่ก็ขึ้นอยู่กับระยะทางระหว่างโน้ตบุคของคุณกับตัว Access Point ยิ่งไกลกัน ความเร็วก็จะลดลง หรือถ้ามีสิ่งกีดขวางมากๆ เช่น กำแพง ก็จะทำให้ประสิทธิภาพของการรับส่งข้อมูลลดลงไปด้วยเช่นกัน ส่วนโน้ตบุคหรือ PDA ของคุณที่ใช้ ก็จะต้องมี Wireless Access card ที่เป็นมาตรฐานของ Wi-Fi เพื่อเข้าไปใช้กับเนทเวิร์คนั้น ซึ่งอุปกรณ์รุ่นใหม่ๆ มักจะมีตัว Wireless card นี้ติดมาเป็นมาตรฐานของเครื่องอยู่แล้ว เทคโนโลยี Wi-Fi กำลังเป็นที่นิยมมากขึ้นเรื่อยๆ เช่นในสหรัฐอเมริกา ร้าน McDonalds ได้เริ่มติดตั้งระบบ Wi-Fiในบางสาขาแล้ว เช่นเดียวกับร้านกาแฟ Starbucks ดังนั้น ลูกค้าที่เข้ามานั่งรับประทานอาหารหรือนั่งดื่มกาแฟ ก็จะสามารถทำงานไปด้วยได้ โดยการเชื่อมต่อเข้ากับระบบเนทเวิร์คความเร็วสูงที่ทางร้านจัดหาให้ นอกจากนั้น โรงพยาบาลในหลายๆ รัฐยังติดตั้งระบบนี้เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับแพทย์และนางพยาบาล ในการเข้าไปตรวจสอบข้อมูลของคนไข้เพื่อตรวจ และสั่งยา เพื่อความรวดเร็วและเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน และที่หรูหราไปกว่านั้น บริษัทผลิตเครื่องบินโบอิ้งยังได้เริ่มที่จะติดตั้งระบบ Wi-Fi นี้ในเครื่องโบอิ้งกว่า 100 ลำ ต่อไปผู้โดยสารก็จะสามารถใช้อินเตอร์เนท หรือใช้โทรศัพท์ระหว่างการเดินทางได้อย่างสะดวกสบาย ในประเทศไทย บริษัทหลายบริษัทได้ให้ความสนใจในการติด Wi-Fi ในอาคารสำนักงาน เพื่อให้พนักงานสามารถเชื่อมต่อเข้ากับระบบเนทเวิร์คหรือแหล่งข้อมูลของบริษัท จากที่ใดก็ได้ในบริเวณอาคาร ส่วนผู้ให้บริการอินเตอร์เนท (ISP) ก็ได้เริ่มจับมือกับบริษัทต่างๆ ในการติดตั้ง Access Point หรือที่เราเรียกว่า Hot spot เพื่อให้บริการ Wi-Fi ตามสถานที่ต่างๆ เช่น โรงแรม ร้านอาหาร ร้านกาแฟ และไม่ใช่แต่เฉพาะในกรุงเทพฯ บริการ Hot spot นี้ยังสามารถหาได้ตามโรงแรมในเมืองท่องเที่ยวใหญ่ๆ อย่างเช่น หัวหิน เชียงใหม่ ภูเก็ต หรือที่สมุย ได้อีกด้วย ในด้านของการศึกษา มหาวิทยาลัยบางแห่ง เริ่มที่จะติดตั้ง Access Point เพื่อให้นิสิตนักศึกษาสามารถใช้โน้ตบุคส่วนตัว เข้ามาใช้ในมหาวิทยาลัย เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการเรียนและการค้นคว้าหาข้อมูลต่างๆ และที่เห็นประโยชน์อย่างชัดเจนของการใช้ระบบ Wi-Fi คือการติดตั้ง Access Point ไว้ตามที่ต่างๆ ในการประชุมผู้นำเอเปคในครั้งที่เพิ่งผ่านมา เพราะนอกจากผู้นำจากประเทศต่างๆ จะสามารถเชื่อมต่อกับเนทเวิร์คความเร็วสูง จากอุปกรณ์ของท่านเหล่านั้นเองแล้ว ประเทศไทยเรายังได้รับการกล่าวถึงในเรื่องของการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ในการเพิ่มประสิทธิภาพในการประชุมอีกด้วย
- ไว-แมกซ์ (Wi-MAX) ไว-แมกซ์ ย่อมาจาก Worldwide InterOperability for Microwave Access เป็นเทคโนโลยีการสื่อสารไร้สายระดับบรอดแบรนด์บนมาตรฐาน IEEE 802.16 โดยสามารถส่งข้อมูลกระจายสัญญาณจากจุดหนึ่งไปยังหลายจุดได้พร้อมๆกัน
เครือข่ายคอมพิวเตอร์
เครือข่ายคอมพิวเตอร์เกิดจากการสื่อสารข้อมูลของเครื่องคอมพิวเตอร์ตั้งแต่ 2 เครื่องขึ้นไป โดยใช้วิธีการสื่อสารข้อมูลทั่วไปในการเชื่อมต่อสื่อสาร ระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยในการเชื่อมต่อนั้น ประสิทธิภาพของเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขึ้นอยู่กับองค์ประกอบต่างๆ ดังนี้
จำนวนของเครื่องคอมพิวเตอร์ภายในเครือข่าย
ประสิทธิภาพของเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขึ้นอยู่กับจำนวนเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ต่อพ่วงภายในเครือข่าย กล่าวคือ ถ้าจำนวนเครื่องคอมพิวเตอร์ ที่ต่อพ่วงมีจำนวนมาก จะทำให้ประสิทธิภาพของการสื่อสารต่ำ เนื่องจากต้องมีการแบ่งการใช้สื่อนำข้อมูลโดยคอมพิวเตอร์หลายเครื่อง ในทางกลับกัน ถ้าจำนวนเครื่องคอมพิวเตอร์ในเครือข่ายมีจำนวนเหมาะสมกับอุปกรณ์สื่อสาร จะทำให้ระบบเครือข่ายมีประสิทธิภาพสูง
สื่อนำข้อมูล (transmission medium)
เครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่ใช้สื่อนำข้อมูลที่เหมาะสมกับระบบ จะเป็นเครือข่ายที่สามารถสื่อสารข้อมูลกันได้อย่างดี แต่ถ้ามีการนำสื่อนำข้อมูล ที่มีความเร็วต่ำหรือไม่ เหมาะกับการใช้งานมาใช้ในเครือข่ายคอมพิวเตอร์จะทำให้เครือข่ายคอมพิวเตอร์นั้นจะมีประสิทธิภาพต่ำ นอกจากการเลือก สื่อนำข้อมูลที่เหมาะสมแล้วจะต้องคำนึงถึงวิธีการจัดวางสื่อนำข้อมูลเหล่านั้น โดยการจัดวางสื่อนำข้อมูลจะต้องจัดวางตำแหน่งให้เหมาะสมกับการใช้งาน และสภาพแวดล้อม
เครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ (hardware)
การสื่อสารข้อมูลภายในเครือข่ายคอมพิวเตอร์จะต้องมีเครื่องคอมพิวเตอร์ต่างๆ ทำหน้าที่ต่างกันไป เครื่องคอมพิวเตอร์เหล่านั้นจะมีผล ต่อประสิทธิภาพของเครือข่ายคอมพิวเตอร์อย่างยิ่ง ถ้าเครื่องคอมพิวเตอร์เหล่านั้นมีประสิทธิภาพต่ำจะทำให้เครือข่ายคอมพิวเตอร์มีประสิทธิภาพต่ำด้วย นอกจากเครื่องคอมพิวเตอร์แล้ว อุปกรณ์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการสื่อสารข้อมูลระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ เช่น โมเด็ม ก็ส่งผลต่อประสิทธิภาพ ต่อระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์เช่นกัน
ประสิทธิภาพของเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขึ้นอยู่กับจำนวนเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ต่อพ่วงภายในเครือข่าย กล่าวคือ ถ้าจำนวนเครื่องคอมพิวเตอร์ ที่ต่อพ่วงมีจำนวนมาก จะทำให้ประสิทธิภาพของการสื่อสารต่ำ เนื่องจากต้องมีการแบ่งการใช้สื่อนำข้อมูลโดยคอมพิวเตอร์หลายเครื่อง ในทางกลับกัน ถ้าจำนวนเครื่องคอมพิวเตอร์ในเครือข่ายมีจำนวนเหมาะสมกับอุปกรณ์สื่อสาร จะทำให้ระบบเครือข่ายมีประสิทธิภาพสูง
สื่อนำข้อมูล (transmission medium)
เครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่ใช้สื่อนำข้อมูลที่เหมาะสมกับระบบ จะเป็นเครือข่ายที่สามารถสื่อสารข้อมูลกันได้อย่างดี แต่ถ้ามีการนำสื่อนำข้อมูล ที่มีความเร็วต่ำหรือไม่ เหมาะกับการใช้งานมาใช้ในเครือข่ายคอมพิวเตอร์จะทำให้เครือข่ายคอมพิวเตอร์นั้นจะมีประสิทธิภาพต่ำ นอกจากการเลือก สื่อนำข้อมูลที่เหมาะสมแล้วจะต้องคำนึงถึงวิธีการจัดวางสื่อนำข้อมูลเหล่านั้น โดยการจัดวางสื่อนำข้อมูลจะต้องจัดวางตำแหน่งให้เหมาะสมกับการใช้งาน และสภาพแวดล้อม
เครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ (hardware)
การสื่อสารข้อมูลภายในเครือข่ายคอมพิวเตอร์จะต้องมีเครื่องคอมพิวเตอร์ต่างๆ ทำหน้าที่ต่างกันไป เครื่องคอมพิวเตอร์เหล่านั้นจะมีผล ต่อประสิทธิภาพของเครือข่ายคอมพิวเตอร์อย่างยิ่ง ถ้าเครื่องคอมพิวเตอร์เหล่านั้นมีประสิทธิภาพต่ำจะทำให้เครือข่ายคอมพิวเตอร์มีประสิทธิภาพต่ำด้วย นอกจากเครื่องคอมพิวเตอร์แล้ว อุปกรณ์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการสื่อสารข้อมูลระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ เช่น โมเด็ม ก็ส่งผลต่อประสิทธิภาพ ต่อระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์เช่นกัน
- จำนวนของเครื่องคอมพิวเตอร์ภายในเครือข่าย
ประสิทธิภาพของเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขึ้นอยู่กับจำนวนเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ต่อพ่วงภายในเครือข่าย กล่าวคือ ถ้าจำนวนเครื่องคอมพิวเตอร์ ที่ต่อพ่วงมีจำนวนมาก จะทำให้ประสิทธิภาพของการสื่อสารต่ำ เนื่องจากต้องมีการแบ่งการใช้สื่อนำข้อมูลโดยคอมพิวเตอร์หลายเครื่อง ในทางกลับกัน ถ้าจำนวนเครื่องคอมพิวเตอร์ในเครือข่ายมีจำนวนเหมาะสมกับอุปกรณ์สื่อสาร จะทำให้ระบบเครือข่ายมีประสิทธิภาพสูง - สื่อนำข้อมูล (transmission medium)
เครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่ใช้สื่อนำข้อมูลที่เหมาะสมกับระบบ จะเป็นเครือข่ายที่สามารถสื่อสารข้อมูลกันได้อย่างดี แต่ถ้ามีการนำสื่อนำข้อมูล ที่มีความเร็วต่ำหรือไม่ เหมาะกับการใช้งานมาใช้ในเครือข่ายคอมพิวเตอร์จะทำให้เครือข่ายคอมพิวเตอร์นั้นจะมีประสิทธิภาพต่ำ นอกจากการเลือก สื่อนำข้อมูลที่เหมาะสมแล้วจะต้องคำนึงถึงวิธีการจัดวางสื่อนำข้อมูลเหล่านั้น โดยการจัดวางสื่อนำข้อมูลจะต้องจัดวางตำแหน่งให้เหมาะสมกับการใช้งาน และสภาพแวดล้อม - เครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ (hardware)
การสื่อสารข้อมูลภายในเครือข่ายคอมพิวเตอร์จะต้องมีเครื่องคอมพิวเตอร์ต่างๆ ทำหน้าที่ต่างกันไป เครื่องคอมพิวเตอร์เหล่านั้นจะมีผล ต่อประสิทธิภาพของเครือข่ายคอมพิวเตอร์อย่างยิ่ง ถ้าเครื่องคอมพิวเตอร์เหล่านั้นมีประสิทธิภาพต่ำจะทำให้เครือข่ายคอมพิวเตอร์มีประสิทธิภาพต่ำด้วย นอกจากเครื่องคอมพิวเตอร์แล้ว อุปกรณ์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการสื่อสารข้อมูลระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ เช่น โมเด็ม ก็ส่งผลต่อประสิทธิภาพ ต่อระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์เช่นกัน - โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการสื่อสารข้อมูล (software)
โปรแกรมคอมพิวเตอร์จะทำหน้าที่ประมวลผลข้อมูลที่เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่ส่ง ข้อมูล รับข้อมูล หรือเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เป็นตัวกลางใน การติดต่อสื่อสารโปรกแรมคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการสื่อสารข้อมูลที่ดีสามารถทำให้สื่อสารข้อมูลได้
1. โครงสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบบัส (bus topology)
โครงสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบบัส จะประกอบด้วย สายส่งข้อมูลหลัก ที่ใช้ส่งข้อมูลภายในเครือข่าย เครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่อง จะเชื่อมต่อเข้ากับสายข้อมูลผ่านจุดเชื่อมต่อ เมื่อมีการส่งข้อมูลระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์หลายเครื่องพร้อมกัน จะมีสัญญาณข้อมูลส่งไปบนสายเคเบิ้ล และมีการแบ่งเวลาการใช้สายเคเบิ้ลแต่ละเครื่อง ข้อดีของการเชื่อมต่อแบบบัส คือ ใช้สื่อนำข้อมูลน้อย ช่วยให้ประหยัดค่าใช้จ่าย และถ้าเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องใดเครื่องหนึ่งเสียก็จะไม่ส่งผลต่อการทำงานของระบบโดยรวม แต่มีข้อเสียคือ การตรวจจุดที่มีปัญหา กระทำได้ค่อนข้างยาก และถ้ามีจำนวนเครื่องคอมพิวเตอร์ในเครือข่ายมากเกินไป จะมีการส่งข้อมูลชนกันมากจนเป็นปัญหา
โครงสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบวงแหวน มีการเชื่อมต่อระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์โดยที่แต่ละการเชื่อมต่อจะมีลักษณะเป็นวงกลม การส่งข้อมูลภายในเครือข่ายนี้ก็จะเป็นวงกลมด้วยเช่นกัน ทิศทางการส่งข้อมูลจะเป็นทิศทางเดียวกันเสมอ จากเครื่องหนึ่งจนถึงปลายทาง ในกรณีที่มีเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องใดเครื่องหนึ่งขัดข้อง การส่งข้อมูลภายในเครือข่ายชนิดนี้จะไม่สามารถทำงานต่อไปได้ ข้อดีของโครงสร้าง เครือข่ายแบบวงแหวนคือ ใช้สายเคเบิ้ลน้อย และถ้าตัดเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เสียออกจากระบบ ก็จะไม่ส่งผลต่อการทำงานของระบบเครือข่ายนี้ และจะไม่มีการชนกันของข้อมูลที่แต่ละเครื่อง
3. โครงสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบดาว (star topology)
โครงสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบดาว ภายในเครือข่ายคอมพิวเตอร์จะต้องมีจุกศูนย์กลางในการควบคุมการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ หรือ ฮับ (hub) การสื่อสารระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ต่างๆ จะสื่อสารผ่านฮับก่อนที่จะส่งข้อมูลไปสู่เครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นๆ โครงสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์ แบบดาวมีข้อดี คือ ถ้าต้องการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เครื่องใหม่ก็สามารถทำได้ง่ายและไม่กระทบต่อเครื่องคอมพิวเตอร์อื่นๆ ในระบบ ส่วนข้อเสีย คือ ค่าใช้จ่ายในการใช้สายเคเบิ้ลจะค่อนข้างสูง และเมื่อฮับไม่ทำงาน การสื่อสารของคอมพิวเตอร์ทั้งระบบก็จะหยุดตามไปด้วย
โครงสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบดาว ภายในเครือข่ายคอมพิวเตอร์จะต้องมีจุกศูนย์กลางในการควบคุมการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ หรือ ฮับ (hub) การสื่อสารระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ต่างๆ จะสื่อสารผ่านฮับก่อนที่จะส่งข้อมูลไปสู่เครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นๆ โครงสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์ แบบดาวมีข้อดี คือ ถ้าต้องการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เครื่องใหม่ก็สามารถทำได้ง่ายและไม่กระทบต่อเครื่องคอมพิวเตอร์อื่นๆ ในระบบ ส่วนข้อเสีย คือ ค่าใช้จ่ายในการใช้สายเคเบิ้ลจะค่อนข้างสูง และเมื่อฮับไม่ทำงาน การสื่อสารของคอมพิวเตอร์ทั้งระบบก็จะหยุดตามไปด้วย
โครงสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบเมช มีการทำงานโดยเครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องจะมีช่องสัญญาณจำนวนมาก เพื่อที่จะเชื่อมต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นๆทุกเครื่อง โครงสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์นี้เครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องจะส่งข้อมูล ได้อิสระไม่ต้องรอการส่งข้อมูลระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นๆ ทำให้การส่งข้อมูลมีความรวดเร็ว แต่ค่าใช้จ่ายสายเคเบิ้ลก็สูงด้วยเช่นกัน 5. โครงสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบผสม (hybrid topology)
เป็นโครงสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่ผสมผสานความสามารถของโครงสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์หลาย ๆ แบบรวมกัน ประกอบด้วยเครือข่าย คอมพิวเตอร์ย่อยๆ หลายเครือข่ายที่มีโครงสร้างแตกต่างกันมาเชื่อมต่อกันตามความเหมาะสม ทำให้เกิดเครือข่ายที่มีประสิทธิภาพสูงในการสื่อสารข้อมูล
- เซิร์ฟเวอร์(Server) เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่ให้บริการต่างๆโดยแต่ละเครือข่ายคอมพิวเตอร์สามารถมีเครื่องคอมพิวเตอร์เซิร์ฟเวอร์ได้หลายเครื่องตามความต้องการชนิดของเครื่องคอมพิวเตอร์เซิร์ฟเวอร์มีดังนี้
- ไฟล์เซิฟเวอร์ (File Server) ทำหน้าที่ให้บริการแฟ้มข้อมูลแก่เครื่องคอมพิวเตอร์อื่นๆ ซึ่งสามารถเรียกใช้แฟ้มงานต่างๆ จากเซิร์ฟเวอร์ได้
- ดาต้าเบสเซิร์ฟเวอร์ (Database Server) ทำหน้าที่ให้บริการฐานข้อมูลแก่เครื่องคอมพิวเตอร์ภายในเครือข่าย
- พรินต์เซิร์ฟเวอร์ (Print Server) ทำหน้าที่ให้บริการเครื่องพิมพ์ในการพิมพ์เอกสารต่างๆ
- อินเทอร์เน็ตเซิร์ฟเวอร์ (Internet Server) เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่สามารถติดต่อกับเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้และทำหน้าที่ให้บริการแก่เครื่องคอมพิวเตอร์อื่นๆ ในการใช้อินเตอร์เน็ต
- เว็ปเซิร์ฟเวอร์ (Web Server) ทำหน้าที่เก็บข้อมูลเว็บไซต์ และเมื่อเครื่องคอมพิวเตอร์อื่นต้องการเรียกดูข้อมูลจากเว็บไซต์เหล่านั้น เว็บเซิร์ฟจะทำหน้าที่ส่งข้อมูลเหล่านั้นไปให้
- เมลเซิร์ฟเวอร์ (Mail Server) ทำหน้าที่เก็บจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Mails หรือ E-Mail)
- ระบบโดเมนเนม (Domain Name System Server) ทำหน้าที่เก็บชื่อโดเมน และแปลชื่อโดเมนให้เป็นอีแอดเดรส (IP Address)
- เวิร์กสเตชั่น (Workstation) เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ทั่วๆ ไปที่สามารถทำการประมวลผลข้อมูลต่างๆ
- ไคลเอนต์ (Client) เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีการเรียกใช้ข้อมูลจากเซิร์ฟเวอร์
- เทอร์มินัล (Terminal) เป็นอุปกรณ์ที่ประกอบด้วยจอภาพ แป้นพิมพ์ และอุปกรณ์อื่นๆ เทอร์มินัลไม่สามารถประมวลผลข้อมูลได้ด้วยตนเองแต่ใช้การสื่อสารข้อมูลกับเซิร์ฟเวอร์และให้เซิร์ฟเวอร์ทำการประมวลผลข้อมูลพร้อมทั้งส่งข้อมูลมาปรากฏบนจอภาพ
- การประมวลผลข้อมูลที่ศูนย์กลาง (Centralized Processing)
- การประมวลผลข้อมูลแบบไคลเอนต์/เซิร์ฟเวอร์
ชนิดของเครือข่ายคอมพิวเตอร์
Personal Area Network (PAN) เครือข่ายส่วนบุคคล เป็นเครือข่ายสำหรับการแลกเปลี่ยนสารสนเทศและบริการตลอดจนการใช้งานอุปกรณ์ร่วมกัน เช่น เทคโนโลยี บลูทูธ
Local Area Network (LAN) เครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบท้องถิ่น ระยะทางการเชื่อมต่อประมาณไม่เกิน 10 กิโลเมตร มีความเร็วในการแลกเปลี่ยนข้อมูลประมาณ 10-100 Mbps
Metropolitan Area Network (MAN) เครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ อาจครอบคุมพื้นที่ทั้งตำบลหรืออำเภอ
Wide Area Network (WAN) เครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่มาก ภายในเครือข่ายประกอบไปด้วยเครือข่ายแลล Lanและ Man พื้นที่ของเครือข่ายแบบนี้ สามารถครอบคลุมได้ทั้งประเทศ หรือทั่วโลก